Pages

Thursday, July 9, 2020

รีวิว Honda City 1.0 Turbo RS ใหม่ มีดีที่ความแรง ชูจุดเด่นกันด้วย “อัตราเร่ง” - Top Gear Thailand

dasimahduh.blogspot.com

All-new Honda City Turbo ใหม่ เป็นรถยนต์ซับคอมแพ็คอีกหนึ่งรุ่นที่หลายคนกำลังจับตามอง เนื่องจากมีจุดเด่นอยู่ที่การใช้เครื่องยนต์เบนซินเทอร์โบเป็นครั้งแรก ซึ่งใครต่อใครก็คอนเฟิร์มว่าแรงจริง (เราเองก็ไม่ปฏิเสธในเรื่องนี้) แต่ในเมื่อมีคู่เปรียบเทียบที่เปิดตัวในเวลาไล่เลี่ยกัน ก็พอจะเห็นว่า City อาจมีข้อด้อยในเรื่องออปชั่นไปบ้าง เทียบกับราคาจำหน่ายที่ตั้งไว้

Honda City Turbo 2020 ใหม่ มีให้เลือกด้วยกันทั้งหมด 4 รุ่นย่อย ประกอบด้วย S, V, SV และรุ่นท็อปสุดเรียกว่า RS เช่นเดียวกับโมเดลอื่นๆ ของฮอนด้าที่พยายามเน้นความสปอร์ตลงไปในรุ่นท็อปสุดเพื่อจับกลุ่มลูกค้าที่ชื่นชอบภาพลักษณ์โฉบเฉี่ยวกว่ารุ่นปกติ

สำหรับรุ่นที่เราได้ลองทดสอบในครั้งนี้ คือ RS ซึ่งเป็นเพียงรุ่นเดียวที่ถูกติดตั้งไฟหน้าแบบ LED พร้อมไฟเลี้ยวแบบ LED ดีไซน์คล้ายคลึงกับรุ่นใหญ่อย่าง Civic และ Accord ขณะที่รุ่นรองลงมาจะเป็นไฟหน้าแบบโปรเจคเตอร์ฮาโลเจนทั้งหมด โดยรุ่น RS ยังมาพร้อมกระจังหน้าสีดำแปะด้วยโลโก้ RS สีแดง, กันชนหน้าดีไซน์สปอร์ตพร้อมไฟตัดหมอกแบบ LED, กระจกมองข้างสีดำ พร้อมระบบปรับและพับด้วยไฟฟ้า, มือจับประตูด้านนอกสีเดียวกับตัวรถ, สปอยเลอร์หลังสีดำ Gloss Black, เสาอากาศแบบครีบฉลาม และล้ออัลลอยสีทูโทนขนาด 16 นิ้ว

ดีไซน์ภายนอกเป็นเรื่องนานาจิตตังขึ้นอยู่กับว่าใครจะชอบดีไซน์แบบไหน แต่ส่วนตัวผมกลับรู้สึกว่า City โฉมใหม่ ไม่ทำให้ผมรู้สึกว้าวมากเท่ากับโฉมที่แล้ว แม้ว่าดีไซน์ไฟหน้าและไฟท้ายจะถูกออกแบบให้ดูโฉบเฉี่ยวดี แต่เส้นสายบนตัวถังกลับดูไม่ลงตัวอย่างที่ควรจะเป็นเท่าไหร่นัก ยกตัวอย่างขอบประตูบานหลังที่ชวนให้นึกถึงการออกแบบของ นิสสัน อัลเมร่า รุ่นแรก ผสมเข้ากับ มิตซูบิชิ แอททราจ จนได้มาเป็นประตูของ ซิตี้ ในที่สุด

ตัวถังของ City ใหม่ ถูกขยายความกว้างและความยาวออกจนมีขนาดใหญ่กว่า Civic FD ด้วยซ้ำไป โดยตัวถังมีความยาว 4,553 มม. (เพิ่มขึ้น 113 มม.) ความกว้าง 1,748 มม. (เพิ่มขึ้น 53 มม.) ความสูง 1,467 มม. (ลดลง 10 มม.) แต่เป็นที่น่าสังเกตว่าความยาวฐานล้อในรุ่นใหม่ถูกลดขนาดลงจาก 2,600 มม. เป็น 2,589 มม. หรือสั้นลง 11 มม. เมื่อเทียบกับรุ่นเดิม ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าแปลกใจอยู่ไม่น้อย

สิ่งหนึ่งที่เราต้องยอมรับใน ฮอนด้า ซิตี้ เทอร์โบ ใหม่ คือ รถรุ่นนี้ไม่ได้ถูกพัฒนาร่วมกับ ฮอนด้า แจ๊ส เจเนอเรชั่นใหม่ในตลาดโลกอีกต่อไป หากแต่ถูกพัฒนาขึ้นในฐานะรถซีดานสำหรับกลุ่มประเทศอาเซียนและประเทศกำลังพัฒนาอื่นๆ โดยเฉพาะ ดีไซน์ภายในห้องโดยสารของ ซิตี้ จึงมีความแตกต่างจาก แจ๊ส ที่เพิ่งเปิดตัวในญี่ปุ่นและยุโรปไปก่อนหน้านี้

โดดเด่นด้วยสมรรถนะเครื่องยนต์แรงที่สุดในกลุ่ม B-segment ขณะนี้ ช่วงล่างไว้ใจได้ทั้งในเมืองและนอกเมือง ห้องโดยสารกว้างขวางตามสไตล์ฮอนด้า แลกกับอุปกรณ์มาตรฐานที่หายไปเมื่อเทียบกับคู่แข่ง

Ekachai Suksomkij

www.topgear.co.th

เครื่องยนต์
Honda City Turbo ติดตั้งเครื่องยนต์เบนซิน DOHC แบบ 3 สูบ ความจุ 1.0 ลิตร VTEC TURBO ให้กำลังสูงสุด 122 แรงม้า (PS) ที่ 5,500 รอบต่อนาที แรงบิดสูงสุด 173 นิวตัน-เมตร ที่ 2,000 – 4,500 รอบต่อนาที ส่งกำลังด้วยเกียร์อัตโนมัติ CVT ทุกรุ่นย่อย รองรับเชื้อเพลิง E20 ได้

ขณะที่ช่วงล่างเป็นแบบแม็คเฟอร์สันสตรัทอิสระพร้อมเหล็กกันโคลง ด้านหลังแบบทอร์ชั่นบีม พร้อมระบบเบรกด้านหน้าแบบดิสก์เบรกแบบมีช่องระบายความร้อน ส่วนด้านหลังกลับไปใช้แบบดรัมเบรกทุกรุ่นย่อย

การขับขี่

ในด้านการขับขี่ Honda City 1.0 Turbo RS ใหม่ คงต้องชูจุดเด่นกันด้วย “อัตราเร่ง” ที่แรงและต่อเนื่องอย่างที่ไม่เคยพบเห็นในรถระดับ B-Segment จากฝั่งญี่ปุ่น การเร่งออกตัวให้ความนุ่มนวลกว่าที่คิด ไม่ได้พุ่งกระโชกโฮกฮากอย่างบ้าพลังจนกระตุ้นให้ Traction control ทำงานทุกครั้งที่เหยียบคันเร่งแบบจมมิด แต่เมื่อเคลื่อนตัวออกไปได้แล้ว เทอร์โบก็จะเริ่มทำงานเพื่อเค้นแรงบิด 173 นิวตัน-เมตรมาให้ใช้งานอย่างเต็มกำลัง เมื่อบวกกับนิสัยของเกียร์ CVT ที่ส่งกำลังอย่างต่อเนื่องไร้รอยต่อด้วยแล้ว ทำให้รถคันนี้พุ่งทะยานไปข้างหน้าได้อย่างทันใจ

ซึ่งอัตราเร่ง 0-100 กม./ชม. ที่เราทดสอบคร่าวๆ ป้วนเปี้ยนอยู่แถว 10 วินาที แม้ว่าตัวเลขอาจดูไม่หวือหวานัก แต่อย่าลืมว่านี่คือรถ B-Segment บ้านๆ ที่ถูกติดตั้งเครื่องยนต์ 3 สูบ ขนาดเพียง 1.0 ลิตร แถมยังเคลมอัตราสิ้นเปลืองไว้ที่ 23.8 กม./ชม. ตามมาตรฐานอีโคคาร์เฟส 2 เอาเป็นว่าการใช้งานในชีวิตประจำวันทั่วไปถือว่าเหลือเฟือมากพอแล้วล่ะครับ

ช่วงล่างของ Honda City รุ่น RS ให้ความรู้สึกไปในแนวเดียวกับฮอนด้าแทบทุกรุ่น โดยในช่วงความเร็วต่ำจะมีความหนึบเฟิร์มอยู่พอสมควร แต่ก็ยังซับแรงสะเทือนขณะขับผ่านหลุมหรือฝาท่อได้ในระดับหนึ่งโดยไม่ทำให้ห้องโดยสารมีเสียงตึงตังจนน่ารำคาญ แต่ การเข้าโค้งยาวๆ ด้วยความเร็วระดับ 100-120 กม./ชม. ก็ยังพอให้ความมั่นใจได้

แต่หากเร็วกว่านั้นก็จะเริ่มรู้สึกถึงอาการโคลงขึ้นบ้าง โดยเฉพาะเมื่อเจอกับลมปะทะแรงๆ หรือผิวถนนที่เป็นลอน เราจึงขอแนะนำให้ใช้ความเร็วตามกฎหมายกำหนดจะดีกว่า แม้ว่าเครื่องยนต์จะพารถคันนี้ไปแตะ 200 กม./ชม. ได้ก็ตามที

การเก็บเสียงทำได้ดีขึ้นกว่ารุ่นเดิมเล็กน้อย อันเป็นผลจากการฉีดโฟมเก็บเสียงเข้าไปบริเวณฐานเสาตัวถัง และเพิ่มฉนวนกันเสียงมากขึ้น ทำให้เก็บเสียงจากพื้นถนนได้ดียิ่งขึ้น แต่กระนั้น เสียงลมที่ไหลผ่านตัวถังยังพอได้ยินอยู่ที่ระดับความเร็ว 100 กม./ชม. ขึ้นไป และจะค่อยๆ ดังขึ้นเรื่อยๆ ตามความเร็วที่เพิ่มขึ้น แต่ก็ยังอยู่ในขั้นที่รับได้ ไม่ได้ดังจนน่ารำคาญแต่อย่างใด

Let's block ads! (Why?)



"ที่ชื่นชอบ" - Google News
July 09, 2020 at 10:16AM
https://ift.tt/3gIHiZC

รีวิว Honda City 1.0 Turbo RS ใหม่ มีดีที่ความแรง ชูจุดเด่นกันด้วย “อัตราเร่ง” - Top Gear Thailand
"ที่ชื่นชอบ" - Google News
https://ift.tt/36dr0nt

No comments:

Post a Comment