เคยสังเกตหรือไม่ว่าคอนเทนต์ (Content) ที่เราเสพกันในสื่อสังคมออนไลน์หรือโซเชียลมีเดียนั้น นับวันยิ่งปรากฏคอนเทนต์ที่ “แรง” ทั้งเนื้อหาและคำพูดอยู่เต็มไปหมด
เหตุใดถึงเป็นเช่นนั้น
ปัจจุบันมีช่องทางให้ผู้รับสารเลือกเสพอย่างหลากหลาย โดยเฉพาะโซเชียลมีเดีย ที่มีข่าวสารให้เลือกเสพมากมายจนเต็มหน้าฟีด (Feed) หากเป็นคอนเทนต์ที่ไม่ได้อยู่ในความสนใจก็จะผ่านสายตาไปอย่างรวดเร็ว ดังนั้น การที่จะทำให้คนหยุดอ่านหรือดูคอนเทนต์ จึงต้องมีการใช้ถ้อยคำที่สามารถ “กระชาก” ทั้งอารมณ์และสายตาของผู้รับสารได้ภายในเสี้ยววินาที แต่จะทำให้คนอยู่ได้นานเพียงใด ก็ขึ้นอยู่กับเนื้อหาว่าน่าสนใจเพียงพอหรือไม่
ใช้ภาษา “กันเอง” เพื่อจับต้องได้
หากลองสังเกตเพจดัง ๆ หรือแอคเคาท์ดัง ๆ ในโซเชียลมีเดีย จะเห็นได้ว่าบทสนทนาโต้ตอบระหว่างผู้ส่งสารกับผู้รับสารมักใช้ภาษาระดับ “กันเอง” ซึ่งปกติเราจะใช้ภาษาระดับนี้ในหมู่เพื่อนสนิทเท่านั้น เพื่อให้เกิดความรู้สึกที่ใกล้ชิดสนิทสนมยิ่งขึ้น รวมถึงใช้คำแรง ๆ ที่ได้อ่านหรือฟังแล้วโดนใจ จึงทำให้ถูกใจผู้รับสารจนยอดวิว ยอดไลก์ หรือยอดผู้ติดตามเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว
เมื่อการสื่อสารในลักษณะนี้ทำให้ผู้รับสารรู้สึกว่าจับต้องได้ เสมือนได้คุยกับเพื่อนในชีวิตจริง คอนเทนต์เหล่านี้จึงเข้าถึงผู้รับสารได้ง่าย และกลายเป็นว่าการใช้ถ้อยคำแรง ๆ หยาบ ๆ หรือการใช้คำที่สื่อไปทางลามกอนาจารกลายเป็นที่ชื่นชอบ โดยมักจะมีคำอ้างว่า “เป็นคนพูดตรง ๆ” ตามมาด้วยเสมอ เพื่อสนับสนุนให้คำพูดแรง ๆ เหล่านั้นของตนเอง หากใครรับไม่ได้ก็ให้ข้ามไป
ใช้สื่อสาธารณะเป็น “พื้นที่ส่วนตัว”
อย่างไรก็ตาม โซเชียลมีเดียเป็นช่องทางการสื่อสารแบบสาธารณะที่ผู้คนจากทุกมุมโลกสามารถเข้าถึงได้ ดังนั้น จึงจำเป็นอย่างยิ่งในการคำนึงถึงผู้คนที่จะเข้ามาเห็นคอนเทนต์ของตนเองด้วย อย่ามองว่าสื่อสาธารณะเป็น”พื้นที่ส่วนตัว”เพื่อใช้อ้างสิทธิเสรีภาพในการพูดหรือทำสิ่งใดตามอำเภอใจ เพราะโซเชียลมีเดียก็ยังเป็น “โซเชียล (สังคม)” อยู่ดี
เมื่ออยู่กันเป็นสังคมก็จำเป็นต้องมีกฎในการอยู่ร่วมกัน เพราะหากมีสิทธิเสรีภาพมากเกินไป ก็จะไปลิดรอนสิทธิเสรีภาพของคนอื่น เพราะตราบใดที่โซเชียลมีเดียยังเป็นที่ที่ใครก็สามารถเข้ามาเห็นมาอ่านได้ ก็เป็นได้เพียงพื้นที่ (เสมือน) ส่วนตัว พื้นที่ส่วนตัวจริง ๆ คือ สมุดไดอารี่ ที่ถ้าใครมาแอบอ่านคือการลุกล้ำพื้นที่ส่วนตัว
ผลิตคอนเทนต์ให้โดนใจกลุ่มเป้าหมาย
เมื่อการนำเสนอขึ้นอยู่กับสไตล์ของคอนเทนต์และกลุ่มเป้าหมาย ตามพฤติกรรมการเสพคอนเทนต์ของแต่ละคนที่ไม่เหมือนกัน คอนเทนต์ที่ผลิตออกมาจึงต้องตอบโจทย์ หากคนเสพชอบแบบแรง คนเสนอก็ต้องแรงตาม ยิ่งมีคอนเทนต์แรง ๆ มากเข้า กลายเป็นต้นแบบที่ถ้าอยากให้คนสนใจก็ต้องแรงให้มากกว่านี้ เมื่อนำเสนอในแง่ความบันเทิง สนุก ตลก ฮา ด้วยแล้ว คอนเทนต์แรง ๆ จึงเป็นคอนเทนต์ปกติในโซเชียลมีเดีย ที่มีแนวโน้มว่าจะแรงได้มากกว่านี้อีก
อีกประการที่สำคัญ สื่อออนไลน์ไม่มีการเซนเซอร์ที่เข้มงวดเท่าสื่อโทรทัศน์ แม้แต่สื่อโทรทัศน์ทุกวันนี้การเซนเซอร์ก็หละหลวมลงไปทุกที หากผู้เสพคอนเทนต์เป็นเด็ก ผู้ส่งสารต้องคำนึงถึงเรื่องการลอกเลียนแบบด้วย แม้จะอ้างว่าตนเองไม่ใช่ทูตตัวอย่างพฤติกรรม ถ้าไม่ดีพ่อแม่ก็ควรควบคุมไม่ให้ลูกดู แต่ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าผู้ส่งสารมีอิทธิพลต่อการเลียนแบบของเด็ก ถึงเด็กไม่ได้ดูเอง แต่เมื่อเด็กไปคุยกับเพื่อน ก็รับพฤติกรรมเช่นนั้นมาได้เช่นกัน
ดังนั้น บางคอนเทนต์นั้น “แรงเกินไป” ที่จะใช้ในช่องทางสาธารณะ เพราะตราบใดที่โซเชียลมีเดีย เป็น “สังคม” กับ “สื่อ” ก็ไม่ใช่พื้นที่ส่วนตัวที่จะทำอะไรก็ได้โดยไม่ต้องสนใจใคร
"ที่ชื่นชอบ" - Google News
June 06, 2020 at 06:00PM
https://ift.tt/30gm7ZK
ทำไมโลกออนไลน์ ถึงถูกใจ คอนเทนต์แรง ๆ - Sanook
"ที่ชื่นชอบ" - Google News
https://ift.tt/36dr0nt
No comments:
Post a Comment