Pages

Friday, August 28, 2020

ย้อนเส้นทางการเมือง ชินโซ อาเบะ นายกรัฐมนตรีที่ดำรงตำแหน่งยาวนานที่สุดของญี่ปุ่น - บีบีซีไทย

dasimahduh.blogspot.com

People walk past a display at Shinjuku, showing Japanese Prime Minister Shinzo Abe announcing his resignation during a televised news conference (28 August 2020)

ในฐานะนายกรัฐมนตรีที่ดำรงตำแหน่งยาวนานที่สุดในประวัติศาสตร์ญี่ปุ่น นายชินโซ อาเบะ เป็นที่รู้จักในฐานะผู้นำประเทศที่ดำเนินนโยบายกลาโหมและการต่างประเทศอย่างดุดัน และยุทธศาสตร์กระตุ้นเศรษฐกิจที่ถูกเรียกขานว่าเป็น "อาเบะโนมิกส์" (Abenomics)

นายอาเบะ ในวัย 65 ปี บอกว่าอาการลำไส้อักเสบที่เรื้อรังมาหลายปีทรุดลง เป็นเหตุผลที่ทำให้เขาประกาศก้าวลงจากเก้าอี้ผู้นำ เพราะไม่ต้องการให้อาการป่วยส่งผลกระทบต่อการตัดสินใจในการบริหารประเทศ และกล่าวขอโทษชาวญี่ปุ่นที่ไม่สามารถทำหน้าที่จนครบวาระได้

นี่เป็นเหตุผลเดียวกันที่ทำให้เขาลาออกตอนดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีสมัยแรกเมื่อปี 2007 แต่การลาออกในครั้งนี้ได้ทำให้เกิดภาวะสุญญากาศทางอำนาจภายในพรรคเสรีประชาธิปไตย (แอลดีพี) ซึ่งเป็นพรรครัฐบาลในขณะนี้

เส้นทางสู่อำนาจ

"เจ้าชาย" คือชื่อที่ผู้ชื่นชอบเขาในทางการเมืองตั้งให้ ในฐานะที่เขาเป็นลูกชายของนายชินทาโร อาเบะ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศ และหลานชายของนายโนบุสึเกะ อาเบะ อดีตนายกรัฐมนตรี

เขาได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรครั้งแรกเมื่อปี 1993 และได้เป็นเลขาธิการคณะรัฐมนตรีในปี 2005 ในรัฐบาลของนายจุนอิชิโร โคอิซูมิ

เพียงหนึ่งปีถัดมา นายอาเบะก้าวขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรีที่มีอายุน้อยที่สุดในประวัติศาสตร์ญี่ปุ่น

อย่างไรก็ดี เรื่องอื้อฉาวต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในสมัยที่เขาดำรงตำแหน่ง อาทิ รัฐบาลทำเอกสารเกี่ยวกับเบี้ยบำนาญสูญหาย ส่งผลกระทบต่อการยื่นเรื่องของผู้รับบำนาญราว 50 ล้านราย ส่งผลเสียต่อคณะรัฐบาลของเขา

ในปี 2007 พรรคเสรีประชาธิปไตย (แอลดีพี) สูญเสียที่นั่งครั้งใหญ่ในการเลือกตั้งสภาสูง ต่อมาในเดือน ก.ย. ปีเดียวกัน เขาได้ประกาศลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีโดยให้เหตุผลว่าสุขภาพย่ำแย่จากอาการลำไส้อักเสบ

ปี 2012 เขากลับมาดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีอีกครั้ง โดยบอกว่าหายดีจากอาการป่วยแล้ว เขายังได้รับเลือกตั้งเป็นนายกรัฐมนตรีอีกในปี 2014 และ 2017

ความนิยมในตัวนายอาเบะเป็นไปอย่างขึ้น ๆ ลง ๆ แต่ก็ไม่มีใครท้าทายหรือพยายามโค่นเขาจากตำแหน่ง ด้วยอิทธิพลที่มีต่อพรรคเสรีประชาธิปไตยมากถึงขั้นที่พรรคแก้กฎอนุญาตให้เขาดำรงตำแหน่งหัวหน้าพรรคเป็นสมัยที่ 3 ได้

ผลกระทบการระบาดใหญ่

People holding Japan"s national flags and the rising sun flag offer one minute silence for the war dead at Yasukuni Shrine on the 75th anniversary of the end of World War Two, at in Tokyo, Japan, 15 August 2020.

เป็นที่รู้กันดีว่า นายอาเบะมีท่าทีดุดันในการดำเนินนโยบายกลาโหมและการต่างประเทศ เขาพยายามมาโดยตลอดที่จะแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 9 ที่ห้ามญี่ปุ่นมีกองทัพเพื่อจุดประสงค์อื่นนอกเหนือไปจากการป้องกันตัวเอง

ความคิดชาตินิยมของเขาทำให้เกิดความตึงเครียดกับประเทศจีนและเกาหลีใต้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังเขาเดินทางไปเยือนศาลเจ้ายาสุกุนิ (Yasukuni Shrine) สถานที่สักการะดวงวิญญาณของผู้เสียชีวิตในสงคราม ซึ่งรวมถึงอาชญากรสงครามหลายคนที่เกาหลีใต้และจีนต่อต้าน เนื่องจากในอดีตทั้งสองประเทศตกเป็นเหยื่อการกดขี่ข่มเหงของกองทัพญี่ปุ่น

ในปี 2015 เขาผลักดันจนรัฐสภาอนุมัติให้ญี่ปุ่นสามารถส่งกองทัพไปต่างประเทศได้หากเป็นเพื่อการป้องกันตัวเองและพันธมิตร แม้ว่าประเทศเพื่อนบ้านและชาวญี่ปุ่นเองจะไม่เห็นด้วย

อาเบะโนมิกส์

ยุทธศาสตร์กระตุ้นเศรษฐกิจซึ่งเป็นที่รู้จักในชื่อ "อาเบะโนมิกส์" (Abenomics) ของเขา ประกอบด้วยการดำเนินมาตรการผ่อนปรนทางการเงิน นโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจ และการปฏิรูปโครงสร้างเศรษฐกิจ แม้จะทำให้เศรษฐกิจจะดีขึ้นในช่วงแรก แต่ก็กลับเติบโตอย่างเชื่องช้าในเวลาต่อมา ทำให้เกิดคำถามว่านโยบายของเขาได้ผลจริงหรือไม่

Japanese Prime Minister Shinzo Abe speaks during a news conference at the prime minister"s official residence in Tokyo, Japan, August 28, 2020.

ความนิยมของนายอาเบะ ยิ่งตกต่ำลงอีกจากการรับมือกับวิกฤตโควิด-19 รัฐบาลถูกวิพากษ์วิจารณ์ว่าหน้ากากอนามัยที่แจกให้ประชาชนนั้นทั้งเล็กและแจกจ่ายอย่างล่าช้า

นอกจากนี้นโยบาย "Go to Travel" ที่กำหนดขึ้นเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจในประเทศ ก็ถูกตำหนิว่าเป็นปัจจัยที่ทำให้จำนวนผู้ติดเชื้อโควิด-19 ในญี่ปุ่นกลับมาสูงขึ้นอีกครั้ง

การแย่งอำนาจ

ข่าวเรื่องสุขภาพของนายอาเบะปรากฏทางสื่อมาเป็นระยะตั้งแต่ต้นเดือน ส.ค และเริ่มหนาหูขึ้นเมื่อเขาเข้ารับการรักษาตัวในโรงพยาบาล เมื่อวันที่ 17 ส.ค. พรรคฝ่ายค้านตั้งคำถามว่าปัญหาสุขภาพเริ่มมีผลต่อการบริหารประเทศของเขาหรือไม่

วันที่ 24 ส.ค. ซึ่งเป็นวันที่เขากลายเป็นนายกรัฐมนตรีที่ดำรงตำแหน่งยาวนานที่สุดในประวัติศาสตร์ เขากลับต้องเข้าโรงพยาบาลอีกครั้ง ก่อนที่จะประกาศลาออกเมื่อวันที่ 28 ส.ค. ในที่สุด

การลาออกของเขาอาจทำให้เกิดการยื้อแย่งตำแหน่งหัวหน้าพรรคคนใหม่ของกลุ่มก้อนต่าง ๆ ในพรรคเสรีประชาธิปไตย เพราะนายอาเบะไม่ได้ประกาศว่าใครจะสืบทอดตำแหน่งต่อจากเขา

พรรคเสรีประชาธิปไตยใต้เงาของนายอาเบะ อาจเป็นพรรคการเมืองที่ขาดผู้กุมบังเหียนที่มีอิทธิพลมากพอ ที่จะสยบความขัดแย้งภายในพรรคได้

ดังนั้นภารกิจที่รอนายกรัฐมนตรีคนถัดไปของญี่ปุ่นอยู่ข้างหน้า คือการต้องทั้งเอาชนะการแก่งแย่งกันในพรรค และสามารถพาประเทศฝ่าวิกฤตโควิด-19 ไปได้ในเวลาเดียวกัน

Let's block ads! (Why?)



"ที่ชื่นชอบ" - Google News
August 29, 2020 at 09:47AM
https://ift.tt/3lpmuJT

ย้อนเส้นทางการเมือง ชินโซ อาเบะ นายกรัฐมนตรีที่ดำรงตำแหน่งยาวนานที่สุดของญี่ปุ่น - บีบีซีไทย
"ที่ชื่นชอบ" - Google News
https://ift.tt/36dr0nt

No comments:

Post a Comment